วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อาชีพที่อยากเป็นคือเภสัชกร







มหาวิทยาลัยมหิดล













ประวัติ
มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเป็นมาจาก โรงศิริราชพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง[4] ต่อมา จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล และตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร"[5] จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย"


พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราชในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460[6] โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"[7] สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท คณะเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีการโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต่อมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม[8]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนภายในคณะ สถาบัน วิทยาลัยต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550[9] และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ





ตรามหาวิทยาลัย ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ ภายใต้มีจักรกับตรีศูล และอักษร ม ออกแบบโดยหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยมหิดล ตามจดหมายสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 [10]โดย
พระมหาพิชัยมงกุฎ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญ แสดงว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
จักร กับ ตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำพระบรมราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
อักษร "ม" มาจากคำว่า "มหิดล"
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[11]
สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีน้ำเงินแก่ เป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระยศในขณะนั้น) พระราชทานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512[12]



การศึกษา




มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 551 สาขาวิชา[13] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ[14]

ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด[15] และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล[16] ปัจจุบัน มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้
คณะบัณฑิตวิทยาลัย
คณะกายภาพบำบัด
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
คณะเภสัชศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
คณะศิลปศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น